สวัสดีครับผม มีชื่อว่า Rango ซึ่งจะมาให้ความรู้เรื่องการวาดเส้น(สถาปัตย์)แก่ทุกท่านที่สนใจและเข้ามาชม Blog ของเรา จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็เชิญชมกันก่อนได้ครับผม
ทำความเข้าใจเส้นสถาปัตย์
เส้นสถาปัตย์ คือ จะเป็นการวาดที่ไม่ซ้ำกันมาก คือมีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดที่แน่นอน เส้นก็ต้องมั่งคงพอสมควร เน้นอาคาร บรรยากาศรอบๆ (ทัศนียภาพ) วาดจากหลักความจริง เน้นน้ำหนักเส้นบางจุดเพื่อให้เกิดมิติในตัวของภาพที่วาด
เส้นสถาปัตย์แตกต่างจากการวาดเส้นทั่วไป(Drawing) กับเส้นสถาปัตย์
การวาดเส้นแบบสถาปัตย์ นั้นจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับเส้นเป็นอย่างมาก เน้นการจัดวางทัศนยภาพ บรรยากาศ รวมทั้งองค์ประกอบรอบๆโดยรวม โดยเรื่องแสงเงาเวลาวาดจะใช้เส้นทั้งหมด จะไม่มีระบายลงไปในภาพการวาดเส้นทั่วไป(Drawing) วิชาพื้นฐานเบื้องต้นของศิลปกรรมตลอดจนถึงงานออกแบบทุกชนิดก็คือการวาดเขียนหรือวาดเส้นซึ่งผู้สร้างงานจะต้องบันทึกทั้งความรู้สึก จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ออกมาในลักษณะของงานวาดเส้น ให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ในการสร้างสรรค์งานวัสดุที่เลือกใช้ในการบันทึกเรื่องราวก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของงานแต่ละงาน ตามความมุ่งหวังและความถนัดของผู้สร้าง อย่างเช่น เทคนิคดินสอดำบนกระดาษ, เครยองบนกระดาษ, ชาโคล,ปากกา หรือแม้กระทั่งการขูดขีดบนผนังถํ้า นอกจากนี้การวาดภาพจะเกิดการระบาย แลเงา จะปะปนกันไปแต่จะไม่เน้นที่น้ำหนักเส้นเหมือนกับเส้นสถาปัตย์
ตัวอย่าง
จากภาพเราจะเห็นทรงกระบอก 2 อัน
ด้านซ้ายมือเป็นการวาดแบบDrawing ด้านขวามือจะเป็นการวาดเส้นแบบสถาปัตย์
สังเกตุจากภาพ Drawing จะมีการระบายและเน้นน้ำหนักที่เส้นมากจะเน้นที่แสงและเงา
เส้นสถาปัตย์จะเน้นที่เส้นความคมชัด หนักเบาหนัก ของน้ำหนักเส้นและจะใช้วิธีการวาดเส้นแทนการระบายบนภาพ
ด้านซ้ายมือเป็นการวาดแบบDrawing ด้านขวามือจะเป็นการวาดเส้นแบบสถาปัตย์
สังเกตุจากภาพ Drawing จะมีการระบายและเน้นน้ำหนักที่เส้นมากจะเน้นที่แสงและเงา
เส้นสถาปัตย์จะเน้นที่เส้นความคมชัด หนักเบาหนัก ของน้ำหนักเส้นและจะใช้วิธีการวาดเส้นแทนการระบายบนภาพ
แบบฝึกหัดลองทำดู
"ทุกอย่างจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อเราเก่งและมีความสามารถ แต่เราจะเก่งได้นั้นก็ต้องหมั่นฝึกฝนทบทวน และพึงปฏิบัติ"
![]() |
ตีกรอบสร้างช่องขนาด 7x7 cm เพื่อให้มีขอบเขตในการวาดเส้น |
หลังจากนั้นก็ลองวาดเส้นตามในภาพดู ตอนเริ่มวาดเส้นก็เน้นที่น้ำหนักเข้มมากที่สุดและไล่ไปจนอ่อนลง จนพอถึงช่วงกลางเส้นก็เริ่มเพิ่มน้ำหนักเข้มขึ้นเรื่อยๆจนเข้มมากที่สุดเท่ากับตอนแรก เรียกน้ำหนักนี้ว่า หนัก-เบา-หนัก และก็ลองวาดหลายๆแนวตามแบบ เช่น แนวตั้ง แนวนอน เฉียงด้านซ้าย เฉียงด้านขวา วาดเส้นในกรอบของเรา
และนอกจากนี้เรายังสามารถเพิ่มขอบเขตในการวาดเส้นได้อีกเพื่อพัฒนาทักษะให้ชำนาญมากยิ่งขึ้น
ถ้าหากเราชำนาญแล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นเส้น หนัก-เบา-หนัก อย่างเดียวก็ได้
คุณอาจจะวาดเป็น เบา-หนัก-เบา หรือ ไล่เป็น 7 ระดับของความเข้มเลยก็ได้ เพราะสามารถนำมาเป็นระดับแสงและเงาของวัตถุได้ด้วยในการวาดภาพ
เสร็จแล้ว ที่เหลือก็จะเป็นเรื่องของ Obric & Isometic
การทำเส้นมาวาดเป็นกล่องเพื่อขึ้นรูปเป็นรูปทรงเลขาคณิตต่างๆ
และก็นำแสงและเงาของเส้น 7 ระดับมาใช้
ไม่ยากใช่มั้ยครับ อย่างน้อยๆผมเชื่อว่า เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆก็พอที่จะได้ความรู้พื้นฐานนี้ไปไม่มากก็น้อย ที่เหลือก็คือการฝึกพัฒนาฝีมือตามศักายภาพ ความถนัด และเวลาของแต่ละคน
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของเรา
ได้ความรู้เยอะขั้นเลย ขอบคุณนะคะ >.<
ตอบลบขอบคุณนะครับ ที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของเรา ในโอกาสหน้าอาจจะความรู้อื่นๆมาแนะนำอีกครับ :)
ลบความรู้ๆๆๆ
ตอบลบ